วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผักตบชวากับการบำบัดน้ำเสีย

ผักตบชวา เป็นพืชน้ำล้มลุก สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบลาซิล ในทวีปอเมริกาใต้ มีดอกสีม่วงอ่อน คล้ายช่อดอกกล้วยไม้ และแพร่พันธ์ได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแหล่งน้ำทั่วไป มีชี่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป เช่น ผักปอด สวะ ผักโรค ผักตบชวา ผักยะวา ผักอีโยก ผักป่อง ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๔๔๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นว่าพืชชนิดนี้มีดอกที่สวยงามจึงนำกลับมาปลูกที่ประเทศไทยใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งน้ำท่วมทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองและแพร่พันธ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
ผักตบชวาสามารถช่วยในการบำบัดน้ำเสีย โดบการทำหน้าที่กรองน้ำที่ไหลผ่านกอผักตบชวาอย่างช้าๆ ทำให้ของแข็งแขวนลอยต่างๆที่ปนอยู่ในน้ำถูกสกัดกั้นกรองออก นอกจากนั้นระบบรากที่มีจำนวนมากจะช่วยกรองสารอินทรีย์ไว้ด้วยอีกทางหนึ่ง รากผักตบจะดูดสารอาหารที่อยู่ในน้ำทำให้ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสียถูกกำจัดไป อย่างไรก้ตามไนโตรเจนในน้ำเสียส่วนมากจะอยู่ในรูปสารประกอบทางเคมี เช่น สารอินทรีย์ไนโตรเจน แอมโมเนียไนโตรเจน และไนเตรทไนโตรเจน พบว่า ผักตบชวาสามารถดูดไนโตรเจนได้ทั้ง ๓ ชนิด แต่ในปริมาณที่แตกต่างกัน